top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนEmmy S.

ประโยชน์ของ CBD: แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากคาํ บอกเล่า

อัปเดตเมื่อ 8 เม.ย. 2566


กลุ่มสารแคนนาบินอยด์ (Cannabidiol) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า CBD เป็นหนึ่งในกลุ่มสารหลายชนิดที่พบในพืชกัญชา ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยกำลังให้ความสนใจในสารธรรมชาติชนิดนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ ทั้งยังมีการบังคับใช้กฏหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตและการบริโภค ซึ่งอนุญาตให้สามารถทำการผลิตได้อย่างถูกกฏหมาย อย่างไรก็ตาม ในแง่ของประสิทธิภาพของ CBD นั้น ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ว่า CBD มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่


แม้ CBD จะมีประโยชน์ในการรักษาโรคลมชักและโรควิตกกังวล แต่ก็ยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจในประสิทธิผลของ CBD อย่างครอบคลุม ซึ่งผลการวิจัยที่มีในตอนนี้แสดงให้ถึงผลลัพธ์ที่ทั้งมีแนวโน้มที่ดีและผลลัพธ์ที่ยังไม่มีข้อสรุป


การได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ CBD จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากอาจเกิดอัตรกิริยาหรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ยาตีกัน” ระหว่าง CBD กับยาบางชนิดและอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ได้ กล่าวโดยสรุปคือ สรรพคุณของ CBD ยังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยและจำเป็นอย่างยิ่งที่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถระบุสรรพคุณทั้งหมดของ CBD ที่ส่งผลต่อร่างกาย


แม้ว่า CBD จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่า ปลอดภัยและทนต่อผลข้างเคียงได้ดี แต่ก็ควรมีการใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ในปริมาณที่สูง นอกจากนี้ยังควรตระหนักด้วยว่าคุณภาพและความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ CBD ในประเทศไทยนั้น มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากขึ้นอยู่กับวิธีการปลูก พื้นที่ และพันธุ์ของกัญชา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกซื้อจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือและมีการหาข้อมูลก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์ CBD



วิทยาศาสตร์เบื้องหลังและประโยชน์ที่เป็นไปได้ของ CBD


ในขณะที่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมากเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องหลัง CBD แต่การศึกษาเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของ CBD ในร่างกายมนุษย์รวมถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้ของการรักษาโดยใช้ CBD ก็มีความคืบหน้าอย่างมาก

หนึ่งในวิธีการหลักๆ ที่ CBD ใช้ในการผลิตผลลัพธ์ในเชิงบวกก คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid) หรือ ECS ของร่างกาย โดย ECS เป็นระบบที่ซับซ้อนของตัวรับและโมเลกุลสัญญาณซึ่งควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาเช่น ความเจ็บปวด การอักเสบ อารมณ์ และการนอนหลับ

จากการศึกษาวิจัยพบว่า CBD สามารถเข้าไปจับและกระตุ้นตัวรับบางตัวของ ECS ได้ จึงทำให้มีสรรพคุณหลายอย่างที่มีงานวิจัยมาสนับสนุนความเป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น บรรเทาอาการอักเสบและอาการปวด รวมถึงลดอาการวิตกกังวล

มีการดำเนินการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ในการใช้ CBD เพื่อรักษาภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โรคลมชัก ซึ่งจริงๆ แล้ว องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้อนุมัติให้ใช้ Epidiolex ซึ่งเป็นยาที่สกัดจาก CBD ในการรักษาโรคลมชักในเด็ก 2 รูปแบบที่รักษายากมาก

อย่างไรก็ตาม แม้ CBD จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการเป็นสารที่ใช้ในการรักษาโรคได้ดี แต่ก็ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในผลลัพธ์และประโยชน์ที่น่าเป็นไปได้ของ CBD และเนื่องจากการที่ผลิตภัณฑ์ CBD อาจมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งในด้านคุณภาพและความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์​ CBD จากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือและการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ ยังควรจะต้องตระหนักด้วยว่า CBD ไม่ใช่ทางเลือกสำหรับทุกคน และประสิทธิภาพของ CBD นั้น อาจให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลตลอดจนอาการของโรค ดังที่นายแพทย์ดัสติน ซูลัก (Dustin Sulak) ผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชาได้กล่าวไว้ว่า "CBD ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล แต่เป็นเครื่องมือซึ่งมีประโยชน์อย่างเหลือเชื่อ เมื่อถูกนำไปใช้อย่างถูกวิธีรวมและถูกวัตถุประสงค์



ปั จจัยทีสง่ ผลต่อประสิทธิภาพของ CBD


ประสิทธิภาพของ CBD อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ ได้แก่


1. คุณภาพของผลิตภัณฑ์ CBD

คุณภาพของผลิตภัณฑ์ CBD เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของ CBD ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มา กรรมวิธีการสกัดและกรรมวิธีการผลิต สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ CBD จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ CBD ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งผ่านการทดสอบความบริสุทธิ์และความเข้มข้นของ CBD โดยบุคคลที่สาม


2. ปริมาณ

ปริมาณของ CBD อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพได้ ปริมาณที่เหมาะสมของ CBD สำหรับแต่ละคนจะแตกต่างกันไปรวมถึงขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ได้แก่ น้ำหนักตัว กระบวนการเผาผลาญ และความรุนแรงของโรค การใช้ CBD ในปริมาณที่น้อยเกินไปอาจไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ในขณะที่การใช้ CBD ในปริมาณที่สูงเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ง่วงซึม ปากแห้ง รวมถึงการเพิ่มหรือลดความอยากอาหารและน้ำหนักตัว


3. วิธีการใช้

วิธีการใช้อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของ CBD ได้ด้วยเช่นกัน โดย CBD สามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น น้ำมันหยดใต้ลิ้น ยาแคปซูล อาหาร ยาทาภายนอก และน้ำมันสำหรับสูบ ซึ่งวิธีการใช้นี้ อาจส่งผลต่อความเร็วในการดูดซึม CBD เข้าสู่ร่างกายรวมถึงระยะเวลาที่ CBD จะตกค้างอยู่ในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น CBD ในน้ำมันหยดใต้ลิ้นและน้ำยาสำหรับสูบ จะดูดซึมได้เร็วกว่า CBD ในอาหาร


4. ชีวประสิทธิผล

ชีวประสิทธิผล หมายถึงปริมาณของ CBD ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และพร้อมสำหรับให้ร่างกายนำไปใช้ ชีวประสิทธิผลของ CBD อาจแตกต่างกันไปตามวิธีการใช้ ยกตัวอย่างเช่น CBD ในอาหารมีชีวประสิทธิผลต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ CBD ในน้ำมันหยดใต้ลิ้นและน้ำมันสำหรับสูบ นอกจากนี้ ชีวประสิทธิผลยังอาจถูกกระทบจากปัจจัยส่วนบุคคล เช่น การย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึม และกรรมพันธุ์


5. ปัจจัยส่วนบุคคล

ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น กรรมพันธุ์ กระบวนการดูดซึม และสุขภาพโดยรวม อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของ CBD ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีความแปรผันทางพันธุกรรมซึ่งอาจส่งผลต่อกระบวนการดูดซึมของ CBD อาจต้องใช้ CBD ในปริมาณที่มากกว่าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่นเดียวกับคนที่มีภาวะสุขภาพบางอย่างซึ่งอาจมีความต้องการใช้ CBD ในปริมาณหรือวิธีการที่แตกต่างกันออกไป


6. ปฏิกิริยากับยาอื่นๆ

CBD อาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิดได้ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือดและยากันชัก การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ CBD จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาบางชนิดอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของ CBD

มีปัจจัยอีกมากที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของ CBD ซึ่งรวมถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ CBD ปริมาณ วิธีการใช้ ชีวประสิทธิผล ปัจจัยส่วนบุคคล และการมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจได้ในประสิทธิภาพของ CBD การเลือกผลิตภัณฑ์ CBD ที่มีคุณภาพสูง และการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปริมาณการใช้ที่เหมาะสม รวมถึงวิธีการใช้ที่ตอบความต้องการของแต่ละบุคคลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง



เข้าใจความแตกต่างระหว่างCBD และ THC


CBD และ THC (tetrahydrocannabinol) เป็นกลุ่มสารแคนนบินอยด์ (cannabinoid) ที่พบในพืชกัญชา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับการวิจัยมาอย่างละเอียด แม้ว่าทั้ง CBD และ THC จะมาจากพืชชนิดเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในตัวส่วนประกอบทางเคมี สรรพคุณ และผลต่อระบบจิตประสาท

ส่วนประกอบทางเคมี: CBD และ THC มีส่วนประกอบทางเคมีซึ่งมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันในส่วนของการจัดเรียงอะตอม CBD มีโครงสร้างทางเคมีที่ประกอบไปด้วยกลุ่มไฮดรอกซิล (-OH) ที่ยึดติดกับคาร์บอนอะตอมตัวที่ 5 ในขณะที่ THC มีวงแหวนที่มีกลุ่มเอสเทอร์ (-COO-) ที่ยึดติดกับคาร์บอกนอะตอมตัวที่ 3 นอกจากนี้ THC ยังมีมวลโมเลกุลสูงกว่าเมื่อเทียบกับ CBD


การออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท: หนึ่งในความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง CBD และ THC คือ การออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท THC เป็นส่วนประกอบหลักที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และเป็นตัวกลางที่ทำให้เกิด "การเมา" หรือเกิดภาวะเคลิ้มสุข ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้กัญชา เนื่องจากตัวรับ CB1 ในสมอง จะปล่อยสารโดปามีนหรือสารแห่งความสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจและความปิติยินดี แต่ในทางกลับกัน CBD ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบจิตประสาทและไม่ผูกติดกับตัวรับ CB1


สรรพคุณทางการแพทย์: ทั้ง CBD และ THC มีสรรพคุณทางการแพทย์ที่หลากหลาย โดยกลุ่มสารแคนนาบินอยด์ทั้ง 2 ชนิด มีปฏิสัมพันธ์กับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์(ECS) ในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในทางสรีรวิทยา เช่น การนอนหลับ ความอยากอาหาร ความเจ็บปวด อารมณ์ความรู้สึก และการทำงานของภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ดี CBD และ THC นั้นมีสรรพคุณทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน

โดย CBD มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และป้องกันการเสื่อมของเซลล์ประสาท ทั้งยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคลมชัก โคลมบ้าหมู โรคซึมเศร้า อาการปวดเรื้อรัง รวมถึงโรคอื่นๆ นอกจากนี้ CBD ยังสามารถต้านฤทธิ์ต่อจิตประสาทจาก THC ได้ ซึ่งทำให้ CBD เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการรับการรักษาด้วยกัญชาแบบปราศจากอาการมึนเมา


ในทางกลับกัน มีการค้นพบว่า THC มีคุณสมบัติในการบรรเทาการปวด ต้านการอักเสบ และกระตุ้นความอยากอาหาร โดยมีการใช้ THC ในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และโรคอื่นๆ แต่ THC ก็อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือมีโอกาสเสพติดได้ ทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการไม่พีงประสงค์ เช่น หวาดระแวง วิตกกังวล และเห็นภาพหลอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้ในปริมาณสูง

ความถูกต้องตามกฏหมาย: ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งระหว่าง CBD และ THC ก็คือสถานะทางกฎหมาย โดย CBD นั้น ถูกกฎหมายในหลายๆ ประเทศ​รวมถึงประเทศไทย หากมีปริมาณสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% ส่วน THC นั้น ยังคงเป็นสิ่งผิดกฏหมายอยู่ ​และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกกฏหมายในทางการแพทย์ หรือใช้เพื่อสันทนาการเฉพาะในบางประเทศหรือบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา


ความแตกต่างเพียงเล็กน้อย: อีกสิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักถึงก็คือการที่ CBD และ THC สามารถทำงานเสริมฤิทธิ์ซึ่งกันและกัน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษาของกันและกันได้ โดยปรากฏการณ์นี้เรียกว่า "เอ็นทูราจเอฟเฟกต์" (entourage effect) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชานั้น เมื่อถูกนำไปใช้บริโภคในแบบทั้งต้นจะมีมากกว่าแบบแยกสารสกัด

กรณีศึกษา: ผู้ใช้ CBD และ THC เพื่อการรักษาหลายคนรายงานว่า อาการเจ็บป่วยและคุณภาพชีวิตโดยรวมของพวกเขาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังบอกว่า ระดับความปวดลดลง ในขณะที่ผู้ที่มีอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าบอกว่า มีอารมณ์ที่ดีขึ้นและมีอาการวิตกกังวลน้อยลง อย่างไรก็ตาม การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบในระยะยาวจากการใช้ CBD และ THC รวมถึงการทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป


CBD และ THC มีความแตกต่างกันในด้านส่วนประกอบทางเคมี การออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท สรรพคุณทางการแพทย์ และสถานะทางกฎหมาย ในขณะที่สารสกัดทั้งสองชนิดนี้มีความสามารถทางการรักษา แต่ก็มีศักยภาพทางการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งยังถูกนำไปใช้ในการรักษาอาการที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการตัดสินใจนำกัญชาไปใช้ รวมไปถึงการทำให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด



ความเชื่อผิดๆ และความเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับCBD

จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ CBD ในคนทั่วไป จึงปรากฏความเชื่อผิดๆ และความเข้าใจผิดหลายอย่าง ในส่วนนี้ เราจะหักล้างความเชื่อผิดๆ ของคนส่วนใหญ่ที่มีต่อ CBD


Myth #1: CBD ทำให้มึนเมา: ความเข้าใจผิดที่แพร่หลายมากที่สุดเกี่ยวกับ CBD ก็คือ การคิดว่า CBD ทำให้คุณมีอาการมึนเมา โดย CBD ไม่มีผลต่อระบบจิตประสาท ซึ่งต่างจาก THC ที่เป็นสารหลักที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทในกัญชา ทั้งนี้ CBD ไม่ได้ผูกติดกับตัวรับ CB1 ในสมอง ซึ่งทำให้มีอาการเคลิ้มจิตอันเกี่ยวข้องกับการใช้กัญชา (THC) ด้วยเหตุนี้ การใช้ CBD จึงไม่ทำให้มีอาการมึนเมาหรือสร้างความเสียหายต่อการทำงานของสมอง

Myth #2: ผลิตภัณฑ์ CBD ทั้งหมดเหมือนกัน: อีกหนึ่งความเชื่อผิดๆที่พบบ่อยก็คือ ผลิตภัณฑ์ CBD ทั้งหมดนั้นเหมือนกัน แต่ที่จริงแล้วคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ CBD นั้น อาจแตกต่างกันอย่างมาก โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น แหล่งที่มา กรรมวิธีการสกัดและกรรมวิธีการผลิต ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ CBD คุณภาพสูง ซึ่งผ่านการทดสอบความบริสุทธิ์และความเข้มข้นของ CBD โดยบุคคลที่สาม



Myth #3: CBD เหมาะสำหรับใช้เพื่อรักษาทางการแพทย์เท่านั้น: CBD มีสรรพคุณที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และคลายความวิตกกังวล อย่างไรก็ตาม CBD ยังเป็นอาหารเสริมจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อการดูแลสุขภาพทั่วไป โดยมีผู้คนเป็นจำนวนมากที่ใช้ CBD ในการคลายความเครียด ผ่อนคลาย และหลับสบายยิ่งขึ้น

Myth #4: CBD สามารถรักษาได้ทุกโรค: ความเชื่อผิดๆ อีกอย่างอีกหนึ่งคือ ความเชื่อที่ว่า สาร CBD เป็นยาที่สามารถรักษาได้ทุกโรค แม้ว่า CBD จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีในผลการรักษาสภาวะโรคทางกายหลายอย่าง เช่น โรคลมชัก อาการวิตกกังวล และอาการปวดเรื้อรัง แต่ CBD ไม่ใช่ยาวิเศษดังนั้น จึงไม่ควรใช้ CBD เป็นการรักษาหรือคำแนะนำลำดับแรก ทั้งยังจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ CBD


Myth #5: CBD ไม่มีผลข้างเคียง: โดยทั่วไปแล้ว คนทั่วไปจะสามารถทนต่อผลข้างเคียงจาก CBD ได้เป็นอย่างดี และจะมีอาการเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ปากแห้ง ง่วงซึม รวมถึงการเพิ่มหรือลดความอยากอาหารและน้ำหนักตัว แต่ CBD อาจมีปฏิกริยาบางอย่างเมื่อถูกใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญก่อนการใช้ CBD คู่กับยาตัวอื่น

Myth #6: CBD is Addictive:CBD ไม่ทำให้เกิดการติดยา ความอยาก หรืออาการลงแดง ซึ่งต่างจาก THC ที่อาจทำให้เกิดการใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือมีโอกาสเสพติดได้ CBD ไม่มีฤทธิ์เสพติด และจริงๆ แล้ว CBD นั้น เป็นสารต้านฤทธิ์การเสพติด และยังอาจนำมาใช้รักษาการเสพติดได้

Myth #7: More CBD is Better: อีกหนึ่งความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ CBD ก็คือ "ยิ่งมากยิ่งดี" อย่างไรก็ดี ปริมาณที่เหมาะสมของ CBD นั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ น้ำหนักตัว กระบวนการดูดซึม และความรุนแรงของโรคที่รักษาอยู่ ดังนั้น การได้รับ CBD ในปริมาณที่สูงเกินไปอาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ ง่วงซึม ปากแห้ง รวมถึงการเพิ่มหรือลดความอยากอาหารและน้ำหนักตัว

แม้ CBD จะได้รับความนิยมในฐานะการรักษาโดยวิธีธรรมชาติบำบัดสำหรับหลายๆ โรค อย่างไรก็ดี การแยกแยะข้อเท็จจริงจากคำบอกเล่าหรือความเชื่อผิดๆ ของคนทั่วไปเกี่ยวกับ CBD ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ CBD เป็นอาหารเสริมจากธรรมชาติที่ทั้งปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากถูกใช้อย่างรู้เท่าทัน ทั้งยังมีประโยชน์ทางการแพทย์มากมาย ดังนั้น จึงควรมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะใช้ CBD เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้ CBD นั้น ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับคุณ



ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้CBD


ถึงแม้ว่า CBD จะถือว่ามีความปลอดภัย แต่ก็อาจมีความเสี่ยงและเกิดผลข้างเคียงบางอย่างจากการใช้ CBD ได้ ซึ่งในส่วนนี้ เราจะพูดถึงความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ CBD

อันตรกิริยาระหว่างยา: CBD อาจมีภาวะอันตรกิริยาระหว่างยา หรือการดื้อยา เมื่อใช้ร่วมกับยาบางชนิด เช่น ยาละลายลิ่มเลือดและยากันชัก ซึ่ง CBD อาจเข้าไปขัดขวางการเปลี่ยนแปลงของยาเหล่านี้ และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของระดับในเส้นเลือด โดยการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พีงประสงค์ หรือลดทอนประสิทธิภาพของยาที่ใช้ ดังนั้น หากคุณกำลังใช้ยาบางชนิดอยู่ ควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ CBD

อาการง่วงซึม: CBD อาจทำให้ง่วงซึม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใช้ในปริมาณสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่ หรือการทำงานกับเครื่องจักรกลหนัก ด้วยเหตุนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมเหล่านี้จนกว่าจะทราบว่า CBD มีผลต่อคุณอย่างไร

ปากแห้ง: CBD ยังอาจทำให้เกิดอาการปากแห้งและทำให้รู้สึกไม่สบาย ซึ่งเป็นเพราะ CBD มีการทำปฏิกิริยากับตัวรับในต่อมน้ำลาย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการผลิตน้ำลาย

● ความอยากอาหารและน้ำหนักตัว: ผู้ใช้บางคนอาจพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงกับความอยากอาหารและน้ำหนักตัวเมื่อใช้ CBD ซึ่งงานวิจัยบางชิ้นได้ระบุว่า CBD สามารถเพิ่มหรือลดความอยากอาหารในผู้ใช้บางคนได้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคอยสังเกตความอยากอาหารและน้ำหนักตัวของคุณเองในระหว่างที่ใช้ CBD

อาการท้องร่วงและความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร: CBD อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาหารท้องร่วงหรือความผิดปกติของระบบย่อยอาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการใช้ในปริมาณสูง เนื่องจาก CBD อาจมีปฏิกิริยากับตัวรับในระบบทางเดินอาหารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้

การทำงานของตับผิดปกติ: มีข้อพิสูจน์บางอย่างที่ทำให้เชื่อได้ว่า CBD ในปริมาณสูงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานของตับผิดปกติ โดยจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Molecules พบว่า CBD ในปริมาณสูงส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อตับของหนูที่นำมาทดลอง ในขณะที่ยังมีข้อจำกัดของงานวิจัยและยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม จึงจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังในการใช้ CBD ในปริมาณสูง

ปัญหาการปนเปื้อนและความบริสุทธิ์: ผลิตภัณฑ์ CBD ยังไม่ได้ถูกควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย นั่นหมายความว่า อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการปนเปื้อนและความบริสุทธิ์ โดยผลิตภัณฑ์ CBD บางตัวอาจมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง หรือตัวทำละลายตกค้าง ดังนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ CBD คุณภาพสูงที่ผ่านการทดสอบความบริสุทธิ์และความเข้มข้นโดยบุคคลที่สาม รวมถึงการถูกผลิตจากบริษัทที่น่าเชื่อถือจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

แม้จะทราบกันดีว่า CBD นั้นมีความปลอดภัย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะมีผลข้างเคียงจากการนำ CBD มาใช้ ซึ่งรวมถึงอันตรกิริยาระหว่างยาหรือการดื้อยา อาการง่วงซึม ปากแห้ง การเพิ่มหรือลดความอยากอาหารและน้ำหนักตัว อาการท้องร่วงและความผิดปกติในระบบการย่อย การทำงานของตับผิดปกติ รวมถีงปัญหาการปนเปื้อนและความบริสุทธ์ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ CBD รวมทั้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ CBD ที่มีคุณภาพ และคอยสังเกตผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ กรุณาติดต่อเราหากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CBD หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ ที่ผลิตจากกัญชา เราพร้อมตอบทุกข้อสงสัยของคุณ


ดู 21 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page